1. การกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก
เพื่อใช้ความเข้มแข็งของพื้นที่ดึงโอกาสจากภายนอกเข้ามาส่งเสริมศักยภาพที่มีให้เต็มที่ ได้แก่
1.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM) เชิงรุก
1.2 พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก
1.3 การเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งให้เป็นระบบที่สมบูรณ์
1.4 การสร้างสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงสองฝั่งทะเลภาคใต้
1.5 ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างระบบขนส่งหลายรูปแบบและส่งเสริมพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ให้มีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่อง
1.6 ส่งเสริมการค้าและการลงทุนโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมและด้านพลังงานทดแทนและ อุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับภาคเกษตร
2. การกำหนดยุทธศาสตร์แก้ปัญหา (W-O Strategies)
เพื่อเป็นการแก้ไขจุดอ่อนของพื้นที่ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีจากปัจจัยภายนอกได้ ได้แก่
2.1 เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสินค้าการเกษตรหลักของกลุ่มจังหวัด
2.2 การป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุทกภัย ดินถล่ม และธรณีพิบัติ
2.3 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงอนุรักษ์และมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
2.4 การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ฟื้นฟูสภาพป่า
2.5 รองรับและเตรียมรับสถานการณ์ที่เกิดจากโรคติดต่อ รวมถึงปัญหาอาชญากรรม
2.6 ลดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
3. การกำหนดยุทธศาสตร์เชิงปรับเปลี่ยน (S-T Strategies
)
เพื่อเป็นการใช้ความเข้มแข็งของพื้นที่เปลี่ยนวิกฤติที่เกิดจากปัจจัยภายนอกให้เป็นโอกาส หรือเป็นช่องทางที่จะพัฒนาได้ ได้แก่
3.1 สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งระดับทวิภาคี และพหุภาคีตามแผน IMT-GT ที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การขนส่ง และการพัฒนาฝีมือแรงงานมากขึ้น และรวมถึงกลุ่มประเทศคู่การค้าทางยุทธศาสตร์ |